1. ความหมายการตัดต่อวีดีโอ
วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน
การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย (Multimedia System)

2. ระบบวีดีโอและวิธีการตัดต่อ
ระบบการตัดต่อวิดีโอแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้คือ
1. ระบบลิเนียร์ (Linear)
2. ระบบนอนลิเนียร์ (Non-Linear)
1. ระบบลิเนียร์ (Linear) เป็นระบบการตัดต่อ โดยใช้เครื่องเล่นวิดีโออย่างน้อย 1 เครื่องในการเลือกภาพ จากนั้นนำภาพที่เลือกไว้ มาทำการตัดต่อโดยใช้ switcher และเครื่องบันทึกจะทำการบันทึก ภาพนั้นๆ เพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวตามต้องการ แต่หากต้องการใส่ Transition ต้องใช้เครื่องเล่นวิดีโอเพิ่มอีก 1 เครื่อง ซึ่งต้องมีชุดควบคุมเครื่องเล่นเทป เครื่องสลับภาพ เครื่องใส่เอฟเฟ็กต์ และอุปกรณ์ซ้อนตัวหนังสือ โดยชุดควบคุมเหล่านี้อาจรวมอยู่ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันหรือแยกชิ้นก็ได้ การตัดต่อด้วยระบบนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อน หากเกิดข้อผิดพลาด ต้องดำเนินการแก้ไขตั้งแต่จุดผิดพลาดไปจนถึงจุดสุดท้าย ระบบนี้จึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร เพราะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งค่าเทป และค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ เป็นต้น

รูปที่ 1 ระบบการตัดต่อ โดยใช้เครื่องเล่นวิดีโอ 1 เครื่อง

รูปที่ 2 ระบบการตัดต่อ โดยใช้เครื่องเล่นวิดีโอมากกว่า 1 เครื่อง
2. ระบบนอนลิเนียร์ (Non-Linear) เป็นการตัดต่อโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก โดยมีจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ 2 จอ จอหนึ่งเป็นภาพสัญญาณที่ส่งออกจากคอมพิวเตอร์ อีกจอแสดงภาพลำดับ การตัดต่อ และมีซอฟท์แวร์ที่ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ คือ การจับภาพ (Capture) กรรมวิธีในการตัดต่อ (Actual Editing) และการนำออก (Exporting) การตัดต่อระบบนี้สามารถเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ดิจิตอล ที่การ
ลำดับภาพสามารถเลือกช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ สามารถแก้ไขได้สะดวก
ข้อดีของระบบนี้ คือ
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย และพื้นที่การทำงาน
2. สามารถค้นหา คัดเลือกภาพ ทำงานในช่วงต่างๆ ได้อย่างอิสระ และรวดเร็ว
3. สามารถผลิตชิ้นงานได้ง่าย และน่าสนใจ เช่น ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ กราฟิก และแอนิเมชั่นได้หลากหลาย
4. ชิ้นงานมีคุณภาพสูง
5. สามารถแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีร่วมกันได้ เช่น เครื่องเล่นเทป, ฮาร์ดดิสก์, สแกนเนอร์
6. เผยแพร่ข้อมูลในรูปดิจิทัลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บนอินเทอร์เน็ต บันทึกลงแผ่นวิดีโอซีดี ดีวีดี เป็นต้น

รูปที่ 3 ระบบนอนลิเนียร์
สามารถรับชมวิธีการตัดต่อจาก Youtube โดยคลิกลิงค์ด้านล่าง
3.พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟล์วีดีโอ
มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
ระบบ - National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace) ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
ระบบ- Phase Alternate Line (PAL) เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
ระบบ - Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
ระบบ - High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น 1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720
ไฟล์วิดีโอ เป็นรูปแบบที่ใช้บันทึกภาพ และเสียงที่สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้เลย มีหลากหลายรูปแบบ ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง และตรงตามประเภทของงาน ดังนี้
1. .avi (Audio / Video Interleave) เป็นไฟลวิดีโอที่มีความละเอียดสูง เหมาะสมกับการนำมาใช้ในงานตัดต่อวิดีโอ แต่เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่มาก จึงไม่นิยมนำมาใช้ในสื่อดิจิตอลอื่นๆ ดังนั้นจึงมักแปลงเป็นไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น Quick Time, MPEG ฯลฯ ซึ่งคุณภาพของไฟล์ที่แปลงแล้วนั้น ภาพและเสียงจะแตกต่างจากต้นฉบับเล็กน้อย
2. .mpeg (Moving Pictures Experts Group) เป็นไฟล์มาตรฐานในการบีบอัดไฟล์วิดีโอให้มีขนาดเล็กลง เป็นรูปแบบของวิดีโอที่มีคุณภาพสูง และนิยมนำมาใช้กับงานวิดีโอหลายประเภท ไฟล์ MPEG สามารถแบ่งออกตามคุณสมบัติต่างๆ ได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
2.1 mpeg-1 เป็นรูปแบบไฟล์ที่เขารหัสด้วยการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก เพื่อสร้าง
ไฟล์วิดีโอในรูปแบบ VCD ซึ่งมีขนาดสูงสุดอยู่ที่ 352 X 288 มีค่าบิตเรทอยู่ที่ 1.5 Mb/s ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับเทปวิดีโอ
2.2 mpeg-2 เป็นรูปแบบการเขารหัสไฟล์ที่สรางมาเพื่อการสร้างภาพยนตร์
โดยเฉพาะ โดยสามารถสร้างเป็น SVCD หรือ DVD มีขนาดสูงสุดอยู่ที่ 1920X1080 มีค่าบิตเรตไม่ตายตัวทำให้สามารถกำหนดอัตราการบีบอัดข้อมูลได้เอง ซึ่งอัตราการบีบอัดจะน้อยกว่ารูปแบบ MPEG-1 ไฟล์ที่ได้จึงมีขนาดใหญ่กว่า และมีคุณภาพสูงกว่าด้วย
2.3 mpeg-4 เป็นไฟล์รูปแบบใหม่ ที่มีคุณภาพสูง และมีการบีบอัดที่ดีกว่า MPEG-1
และ MPEG-2 ซึ่งมีขนาดสูงสุดอยู่ที่ 720X576 รองรับสื่อวิดีโอดิจิตอลในปัจจุบัน เช่น Mobile Phone, PSP, PDA และ iPod เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อการใช้งาน 3 ประเภท คือ ระบบโทรทัศน์แบบดิจิตอล งานด้านแอพพลิเคชันกราฟิก และมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน mp4 ใช้มากในสื่อบนโลกออนไลน์
3. .dat (Digital Audio Tape) เป็นไฟล์ MPEG-1 ที่มีการ encode ระบบไฟล์ เพื่อให้เหมาะสมกับงานที่เป็น VCD ของไฟลภาพยนตร หรือไฟล์คาราโอเกะ สามารถเล่นได้บนเครื่องเลน VCD หรือ DVD ทั่วไป หรือเปิดเล่นด้วยโปรแกรมดูหนัง เช่น Power DVD หรือ Windows Media Player เป็นต้น
4. .wmv (Windows Media Video) เป็นไฟล์ที่ได้มาจากโปรแกรม Microsoft Movie Maker เป็นไฟล์มาตรฐานสำหรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows ทุกเวอร์ชั่น ไฟล์รูปแบบนี้ได้รับความนิยมทางอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างมาก เพราะมีขนาดไฟล์เล็ก สามารถ Upload ขึ้นเว็บไซตได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยเปิดรับชมได้ด้วยด้วยตนเองผ่านโปรแกรม Windows Media Player
5. .vob (Video OBjects) เป็นไฟล์ที่เก็บคุณสมบัติของ video, audio หรือ subtitle ไว้ ซึ่งให้คุณภาพสูงทั้งระบบภาพและเสียง สามารถเล่นได้จากเครื่องเล่น DVD หรือจากเครื่องคอมพิวเตอร์
6. .flv (Flash Video) เปนไฟล์วิดีโอที่ใช้งานร่วมกับโปรแกรม Adobe Flash เนื่องจากเมื่อ บีบอัดไฟล์แลว จะทำให้เสียงหายไป ไฟล์จึงมีขนาดเล็ก แต่ยังคงรายละเอียดภาพของไฟล์ตนฉบับได้เป็นอย่างดี
7. .mov เป็นไฟล์ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Apple ใช้สำหรับดูหนัง หรือคลิปต่างๆ บนเว็บไซต์ สามารถนำเปิดผ่านโปรแกรม Quick Time ได้
8. .rm, .rpm เป็นไฟล์รูปแบบหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดย RealNetwork Inc. จะมีรูปแบบเฉพาะตัวในการเล่นไฟล์ภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องที่เรียกว่า Streaming ที่นำเสนองานมัลติมีเดีย บนอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี โปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดไฟล์ประเภทนี้ได้แก่ RealPlayer หรือ RealAudio เป็นต้น
มาตรฐานของวีดีโอ
1.VCD ( Video Compact Disc )
VCD เป็นรูปแบบของวิดีโอที่ได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปประกอบด้วยภาพและเสียงแบบดิจิตอล ความจุของแผ่น VCD โดยปกติจะอยู่ที่ 74/80 นาทีหรือประมาณ 650/700 เมกกะไบต์ โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ MPEG – 1 มีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 352 x 288 พิกเซลในระบบ PAL และ 352 x 240 พิกเซลในระบบ NTSC คุณภาพของวิดีโอใกล้เคียงกับเทป VHS ซึ่งสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไปหรือจากไดรฟ์ซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์ และแผ่นซีดีที่ใช้เขียน VCD ได้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือแผ่น CD-R ซึ่งเป็นชนิดที่เขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว และแผ่น CD-RW ที่สามารถเขียนและลบเพื่อเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ แต่แผ่น CD-RW มักจะอ่านไม่ได้จากจากเครื่องเล่น VCD หลายๆ รุ่น
2.SVCD ( Super Video Compact Disc )
SVCD เป็นรูปแบบของวิดีโอที่คล้ายกับ VCD แต่จะให้คุณภาพของวิดีโอทั้งในด้านภาพและเสียงที่ดีกว่า โดยเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ MPEG – 2 จะมีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 482 x 576 พิกเซลในระบบ PAL และ 480 x 480 พิกเซลในระบบ NTSC ซึ่งแผ่นประเภทนี้ยังมีเครื่องเล่น VCD หลาย ๆ รุ่นที่อ่านไม่ได้ โดยจำเป็นต้องอ่านจากเครื่องเล่น DVD หรือ VCD บางรุ่นที่สนับสนุนหรือเล่นจาก CD – ROM จากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
3.DVD ( Digital Versatile Disc )
DVD เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ VCD หลายเท่าตัว โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่ 720 x 480 พิกเซลในระบบ PAL และ 720 x 576 พิกเซลในระบบ NTSC โดยมาตรฐานของแผ่น DVD ก็มีหลายประเภท เช่น DVD + R/RW , DVD – R/RW , DVD + RDL และ DVD + RAM ซึ่งความจุของแผ่น DVD ก็มีให้เลือกใช้ตามชนิดของแผ่น โดยมีตั้งแต่ 4.7 กิกะไบต์ไปจนถึง 17 กิกะไบต์ ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้อย่างสบาย ซึ่งคาดการณ์กันว่าสื่อประเภท DVD คงจะเข้ามาแทนที่ VCD ได้ในไม่ช้า
4.BD ( Blu-ray Disc )
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ
มาตรฐานของไฟล์เสียง
ไฟล์เสียงที่ใชกับคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับงานที่ต่างกัน
ไฟล์รูปแบบหลักๆที่ใช้กับพีซี ไดแก่ Wave, CD Audio, MP3, WMA, RA ซึ่งทั้งหมดนี้ขอเรียกรวมกันว่า เป็นไฟล์รูปแบบคลื่นเสียง (waveform) ส่วนไฟล์เสียงอีกประเภทหนึ่งก็คือไฟล์ MIDI ซึ่งรายละเอียดของไฟล์เสียงแต่ละประเภท มีดังนี้
1. .wav (Wave) เป็นไฟล์เสียงมาตรฐานที่ใช้กับ Windows มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ไฟล์มีขนาดใหญ่ครอบคลุมความถี่เสียงได้ทั้งหมด ทำให้คุณภาพเสียงดีมาก สามารถกำหนดคุณภาพเสียงได้หลากหลาย เช่น เสียงโมโนหรือสเตอริโอ
2. .cda (CD Audio) เป็นไฟล์เสียงดิจิตอลที่มีรูปแบบเหมือนกับไฟล Wave ให้คุณภาพเสียงที่ดีเป็นธรรมชาติ โดยทั่วไปเรียก CD เพลง เมื่อนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมส าหรับเล่น CD จะมองเห็นข้อมูลเสียงในรูปของแทร็กเสียง (Audio Tack) ถ้าต้องการ copy หรือนำไฟล์ประเภทนี้มาใช้งานกับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ จะต้องแปลงให้เป็นไฟล์ .wav เสียก่อน
3. .mp3 (MP3) เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานจากไฟล์ Wave แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 8-10 เท่า เนื่องจากข้อมูลในไฟล์ถูกบีบอัดให้เล็กลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ใกล้เคียงต้นฉบับ ไฟล์ MP3 ได้รับความนิยมมาก สำหรับการบันทึกเพลง ไฟล์ประเภทนี้ความยาว 4 นาที มีขนาดประมาณ 5MB สามารถ ก้อบปี้เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ได้เหมือนไฟล์ข้อมูลปกติทั่วไป แต่การสร้างและการแก้ไขไฟล์ค่อนข้างซับซ้อน คือ ต้องบันทึกเสียงให้เป็นไฟล์ .wav จากนั้นจึงบีบอัดให้กลายเป็น .mp3
4. .wmv (Windows Media Audio) เป็นไฟล์เสียงดิจิตอลรูปแบบใหม่กว่า .mp3 มีการบีบอัดดีกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งคุณสมบัติทั่วไปเหมือนกับ .mp3 เมื่อก่อนการเล่นไฟล์ประเภทนี้ต้องเล่นผ่านโปรแกรม Windows Media Player เท่านั้น แต่ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายโปรแกรมที่สามารถเล่นไฟล์นี้ได้
5. .ra (Real Audio) เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานมาจากไฟล์ .wav แต่ถูกบีบอัดให้เล็กลงด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ ใช้การรับส่งข้อมูลเสียงทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก และต้องใช้กับโปรแกรม Real Player เท่านั้น
6. .mid (Musical Instrument Digital Interface) เป็นไฟล์เสียงที่มีขนาดเล็กมาก แก้ไขได้ง่าย แต่ไม่สามารถบันทึกเสียงร้องได้ นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลที่เป็นเสียงดนตรี โดยจะบรรจุข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรี เมื่อเล่นไฟล์ .midi จะเป็นการสั่งให้อุปกรณ์นั้นๆ มีเสียงดนตรีออกมา เมื่อนำเสียงเหล่านั้นมาร้อยเรียงกันก็จะกลายเป็นท่วงทำนองดนตรี หรือเสียงเพลง ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเล่นไฟล์ .midi ได้ โดยใช้โปรแกรมประเภท MIDI Player
7. .aiff (Audio Interchange File Format) เป็นไฟล์เสียงที่ไม่สามารถบีบอัดข้อมูลได้ ไฟล์จึงมีขนาดใหญ่ นิยมใช้กันมากในคอมพิวเตอร์ MAC ซึ่งไฟล์ .aiff เป็นได้ทั้งแบบโมโนและเสตอริโอ มีความละเอียดเริ่มต้นที่ 8 บิต/22 กิโลเฮริตซ์ 24/96 กิโลเฮริตซ์ หรือมากกว่า
8. .ogg (Ogg Vorbis) เป็นการบีบอัดไฟล์เพลงให้เล็กลงแบบใหม่ ทำให้ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็กกว่า .mp3 แต่ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า สามารถเข้ารหัสเสียงได้หลายแบบทั้งโมโนและเสตอริโอ จนถึงระบบ 5.1 Surround Sound
9. .aac (Advanced Audio Coding) เป็นไฟล์ที่พัฒนามาจากมาตรฐาน MPEG-2 จึงทำให้ไฟล์มีขนาดเล็ก และมีคุณภาพสูงกว่าไฟล์ .mp3 สุ่มความถี่ได้ถึง 96 kHz รองรับอัตราการเล่นไฟล์สูงถึง 576 Kbps สามารถแยกเสียงได้ถึงระบบ 5.1 ช่อง เทียบเท่า Dolby Digital
10. .m4a (MPEG-4 Audio) เป็นไฟล์เพลงที่มีความสามารถในการบีดอัดได้หลายขนาด รองรับการเก็บชื่อเพลงและชื่ออัลบั้ม เป็นไฟล์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple ซึ่งต้องเปิดใช้งานกับโปรแกรม iTune ไฟล์ชนิดนี้มีคุณสมบัติเหมือนกับ mpeg – 4
4.อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตัดต่อวิดีโอ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่จำเป็นต้องมี ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทำให้เราสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัด สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดต่อควรมีสเป็คเครื่องขั้นต่ำ ดังนี้
* ซีพียู แนะนำ Pentium 4 ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป * แรมหรือหน่วยความจำ ขนาด 512 MB ขึ้นไป
* ฮาร์ดดิสก์ 80 GB ซึ่งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์
มีความจุ ฮาร์ดดิสก์มากพออยู่แล้ว * ระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ใช้ Windows XP/2000

2. กล้องถ่ายวิดีโอ
กล้องถ่ายวิดีโอ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ แต่ในที่จะ
กล่าวถึงการใช้งานเฉพาะกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอล หรือ
กล้องดิจิตอลแบบ MiniDV

3. Capture Card (การ์ดจับภาพวิดีโอ)
เนื่องจากเราไม่สามารถนำภาพวิดีโอที่อยู่ ในกล้องวิดีโอมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ที่เรียกว่าการ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ช่วยเปลี่ยนเสมือนเป็นสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูล จากกล้องมายังเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน

4. ไดรว์สำหรับเขียนแผ่น CD หรือ DVD
อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องมีหากเราต้องการสร้างงานให้อยู่ในรูปแบบ VCD หรือ DVD ซึ่งในปัจจุบันก็หาซื้อได้ไม่ยาก ราคาก็ไม่แพง

5. แผ่น CD สำหรับบันทึกข้อมูล
แผ่น CD-R (CD-ReWrite หรือ CD Record) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลต่างๆ โปรแกรมเพลง รูปภาพ และภาพยนตร์ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวจนกว่าจะเต็มแผ่น

5.ขั้นตอนการตัดต่อวีดีโอ
ขั้นตอนแรก การปรับตัวรูปเเบบงานวีดีโอของเราให้เหมาะสม สิ่งที่เราควรรู้ คือควรจะรู้ว่าเราอยากได้วีดีโอคุณภาพเท่าไหร่ ควรปรับให้เหมาะสมที่ตรงไหน เพื่อจะให้ได้วีดีโอคุณภาพดี ภาพไม่เเตก ไฟล์ไม่แตก เราจึงควรกำหนดความคมชัดไปเลยว่าต้องการเท่าไหร่ โดยดูจากความเหมาะสมของงาน แล้วจึงทำการปรับเเก้ตัวขนาดไฟล์และความคมชัด ความกว้างและความยาวเวลาเล่นวิดีโอ
ขั้นตอนต่อมา คือการจัดการถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลมาเก็บไว้ โดยอาจจะผ่านจากตัวกล้องเลย หรือว่าเป็นไฟล์ปกติก่อนเเล้วนำมาตัดต่อก็ได้ เพื่อที่จะได้สามารถนำวีดีโอที่ถ่ายไว้มาจัดเรียงสำหรับการตัดต่อของเราได้อย่างสะดวก เพื่อให้ง่ายต่อการตัดต่อวีดีโอนั่นเอง
หลังจากที่เริ่มตัดต่อวีดีโอไปบ้างแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการปรับเเต่งตัววิดีโอให้มีลูกเล่นมากขึ้น จากการใส่ effect จากการเคลื่อนไหว หรือรูปเเบบของตัวโปรเเเกรมที่เอามาใช้ ซึ่งการเพิ่มลุกเล่นให้วีดีโอน่าสนใจต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของงาน ของวีดีโอ ว่าต้องการรูปแบบไหน และควรใช้ลูกเล่นอะไรบ้าง และขั้นตอนสุดท้ายคือการเซฟไฟล์ให้สามารถนำมาใช้ได้ ให้เลือกเป็นรุปเเบบของไฟล์ที่เหมาะสมกับตัววีดีโอที่เราตัด เพื่อที่จะได้ทำให้วีดีโอให้มีคุณภาพ ก่อนที่จะนำไปเผยเเพร่
เพียงเท่านี้ เราก็จะได้วีดีโอที่มีคุณภาพ ที่ตรงกับความต้องการของเรา หัวใจหลักของการทำวีดีโอคือการหมั่นฝึกฝนฝีมือไปเรื่อยๆ แล้วเราจะได้วีดีโอที่มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น